ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซท์โรงเรียนบ้านท่าตาสี
รางวัลเหรียญทองหนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม

การบริหารโรงเรียนแบบพึ่งตนเอง....... Self administration School

08/08/50

 

 

 

 

โรงเรียนบ้านท่าตาสี ได้ดำเนินการบริหารโรงเรียนโดยใช้หลักการบริหารโรงเรียนแบบพึ่งตนเอง สามารถพึ่งตนเองได้ทั้งในด้านงบประมาณที่ใช้บริหารโรงเรียน นอกเหนือจากการได้รับการจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ ส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมได้เรียนรู้ประสบการณ์ตรง จากการดำเนินโครงการของโครงการทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจและทักษะ ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครอง ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญและเห็นคุณค่าของการดำเนินงานของทางโรงเรียน โดยผู้ปกครองเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดจนกิจกรรมอื่นๆของทางโรงเรียน
                 จากการดำเนินงานบริหารโรงเรียนแบบพึ่งตนเองของโรงเรียนบ้านท่าตาสี ได้สร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนสามารถพึ่งตนเองได้อย่างภาคภูมิใจ

พื้นที่ส่วนที่ 1     จำนวน 10  ไร่  ขุดสระน้ำเพื่อกักเก็บน้ำในฤดูและเสริมการเพาะปลูกในฤดูแล้ง  เลี้ยงปลา  เสริมอาหารกลางวันเป็นรายได้ระหว่างเรียน 

 โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวทางพระราชดำริ

                                               โรงเรียนบ้านท่าตาสี  มีพื้นที่ทั้งหมด  50  ไร่  เป็นพื้นที่ที่เป็นอาคารเรียน  อาคารประกอบ  สนามกีฬาและสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ  แล้วยังเหลือพื้นที่ที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์อีกมาก ทางโรงเรียนจึงได้จัดทำเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ตามแนวพระราชดำริ  เพื่อสนองพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  ที่ส่งเสริมให้นักเรียนเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้  ดังนั้นโรงเรียนบ้านท่าสีจึงได้จัดการเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อเป็นการนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ  เป็นแหล่งศึกษาของนักเรียนและชุมชน  การจัดการเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเห็นความสำคัญของน้ำและดินที่เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งสำหรับการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ เมื่อเกษตรกรเพาะปลูกแต่ขาดแหล่งน้ำที่จะให้ความชุ่มชื้นแก่ดิน และละลายธาตุอาหารให้แก่พืชจึงทำให้พืชแคระแกร็น และให้ผลผลิตต่ำ จึงทรงมีพระราชดำริให้เกษตรกรกันพื้นที่ส่วนหนึ่งของที่ทำกิน เพื่อกักเก็บน้ำสำหรับบำรุงดินและต้นพืช รวมทั้งแบ่งซอยพื้นที่ที่เหลือเพิ่อประโยชน์หลายๆด้าน จากแนวพระราชดำริโรงเรียนได้แบ่งพื้นที่ของโรงเรียนที่เหลือประมาณ  30  ไร่ออกเป็นพื้นที่ 4 ส่วน  ดังนี้
                          

 

พื้นที่ส่วนที่ 2      จำนวน 7 ไร่  ปลูกผัก  ปลูกข้าว  ปลูกผลไม้   ปลูกกล้วยและไผ่เลี้ยงตามแนวรั้วรอบโรงเรียนผลผลิตที่ได้นำมาสนับสนุนโครงการอาหารกลางวันเป็นรายได้ระหว่างเรียน  และสามารถส่งเสริมทักษะการทำงานให้กับผู้เรียน

 

พื้นที่ส่วนที่  3       จำนวน  5  ไร่  ปลูกผัก  ปลูกไม้ผล  ปลูกพืชไร่เสริมอาหารกลางวันเป็นรายได้ระหว่างเรียน และสามารถส่งเสริมทักษะการทำงานให้กับผู้เรียน

 

พื้นที่ส่วนที่  4  จานวน  8  ไร่  เลี้ยงโคนม    โรงรีดนมวัว   ฉางเก็บข้าวเปลือก   เพื่อส่งเสริมอาชีพที่สอดคล้องกับท้องถิ่นและ    ฝึกทักษะทางด้านอาชีพให้กับผู้เรียน  และเป็นการนำร่องเรื่องการเลี้ยงโคนมให้กับชุมชนในท้องถิ่น

 

ผลการดำเนินงานโครงการดังกล่าว   โรงเรียนสามารถนำรายได้จากการจำหน่ายน้ำนม   มาสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมจากที่ได้รับการจัดสรร  จากหน่วยงานต้นสังกัด   โยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนสามารถให้บริการอาหารกลางวันกับนักเรียน  ครบ 100  เปอร์เซ็นอย่างมีคุณภาพ

โครงการเลี้ยงโคนมเพื่อโครงการอาหารกลางวัน 

                     เนื่องจากโรงเรียนบ้านท่าตาสีตั้งอยู่ใกล้กับสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น   ประกอบกับโรงเรียนมีพื้นที่พอจึงสามารถเลี้ยงโคนม   เพื่อเป็นรายได้สนับสนุนการบริหารงานของโรงเรียน    และส่งเสริมโครงการอาหารกลางวัน    ให้กับนักเรียนในโรงเรียน    รวมทั้งเป็นการส่งเสริมอาชีพในชุมชน  และส่งเสริมทักษะทางด้านอาชีพให้กับผู้เรียน
                    เริ่มแรกการเลี้ยงโคนมของโรงเรียนบ้านท่าตาสี    ได้รับการสนับสนุนจากสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น   โดย   กำนันอำนวย    ทงก๊ก  ให้ยืมโคนมสาวท้องจำนวน  5  ตัว  ปีการศึกษา  2541   และในปีการศึกษา  2543  ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหมุนเวียนเพื่อโครงการอาหารกลางวัน  จำนวน  196,000 บาท  ซื้อโคนมสาวท้องแก่เพิ่มจำนวน  5  ตัว  เป็นเงิน  150,000  บาท และซื้ออุปกรณ์เครื่องรีดนมเป็นเงิน  46,000  บาท
                       ปี พ.ศ. 2545  ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหมุนเวียน จำนวน  181,800 บาทจัดซื้อแม่โคนมสาวเพิ่มอีกจำนวน  5  ตัว  ปัจจุบันโรงเรียนมีแม่โคทั้งหมด  25  ตัว  รีดนมได้  9  ตัว          ได้น้ำนมดิบประมาณวันละ  60
- 80 กิโลกรัม  ส่งจำหน่ายให้กับสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็นจำกัด  กิโลกรัมละ  10.50  บาท โดยส่งวันละ  2   เวลา ( 6.00 น. )  และ  ( 15.00 น.)
                      

ผลการดำเนินงานผู้ปกครองมีความพอใจกับโครงการนี้เป็นอย่างยิ่ง    เพราะสามารถลดภาระการจัดเตรียมอาหารกลางวันมารับประทานที่โรงเรียนของบุตรหลาน      และลดภาระค่าใช้จ่ายเรื่องอาหารกลางวัน

โครงการบริจาคข้าวเปลือกเพื่ออาหารกลางวัน

          จากสภาพที่ผู้เรียนอาศัยอยู่กับ  ปู่  ย่า  ตา  ยาย  เนื่องจากพ่อแม่ต้องดิ้นรนเพื่อประกอบอาชีพนำรายได้มาจุนเจือครอบครัวเป็นส่วนใหญ่    จึงทำให้นักเรียนขาดการดูแลเอาใจใส่เรื่องการจัดเตรียมอาหารกลางวันมารับประทานที่โรงเรียน   โรงเรียนบ้านท่าตาสีเห็นความสำคัญถึงปัญหานี้   จึงอยากช่วยแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปกครองเรื่องอาหารกลางวันของนักเรียน    จึงเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา   และที่มติที่ประชุมผู้ปกครองทุกฝ่ายเห็นชอบในการร่วมบริจาคข้าวเปลือก   เพื่อโครงการอาหารกลางวันตลอดปีการศึกษา   ซึ่งกำหนดรับบริจาคข้าวเปลือกในวันเด็กแห่งชาติของทุกปี  จำนวนข้าวเปลือกที่ได้รับบริจาคประมาณ  6  เกวียน  / ปี                         

โครงการสร้างโรงสีข้าวส่งเสริมผลผลิตเพื่อโครงการอาหารกลางวัน

                           เนื่องจากโรงเรียนบ้านท่าตาสี  ตั้งอยู่ในท้องถิ่นที่มีการประกอบอาชีพทางการเกษตรทำนาและทำไร่   ประกอบกับทางโรงเรียนได้ดำเนินกิจกรรมการรับบริจาคข้าวเปลือกสำหรับโครงการอาหารกลางวันจากผู้ปกครอง  โดยนักเรียน  1  คน  ต่อข้าวเปลือก  4  ถัง  ทำให้ทางโรงเรียนมีข้าวเปลือกที่สามารถแปรสภาพเป็นข้าวสารได้โดย การสี  นอกจากผู้ปกครองที่มีบุตรหลานเรียนอยู่ในโรงเรียนร่วมบริจาคแล้ว   ประชาชนใน ชุมชนยังร่วมบริจาค ให้กับทางโรงเรียน  เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการหุงให้นักเรียนรับประทานโดยไม่ต้องห่อข้าวมาจากบ้านดังนั้นโครงการจัดสร้างโรงสีข้าวสำหรับโครงการอาหารกลางวันจึงเกิดขึ้น  โดยเพื่อสีข้าวที่ได้รับบริจาคเพื่อใช้ในโครงการอาหารกลางวัน   ให้บริการแก่ชุมชนทั้งภายนอกและภายใน   และเป็นแหล่งในการผลิตข้าวสารคุณภาพเป็นจำหน่ายในโอกาสต่อไป                                     
 

ผลการดำเนินกิจกรรม
                          -   โรงเรียนสามารถจัดสร้างโรงสีข้าวที่ สามารถสีข้าวกล้องได้  โดยได้รับงบประมาณจาก  เงินทุน หมุนเวียนส่งเสริมผลผลิตเพื่อ โครงการอาหารกลางวัน  เป็นจำนวนเงิน  180,000   บาท
                        -    โรงเรียนได้ดำเนินการสีข้าวที่ผู้ปกครองบริจาคให้นักเรียนรับประทานทุกคนในโครงการอาหารกลางวัน  เป็นข้าวสารหลังจากการสร้างโรงสีเสร็จ  จำนวน   1,250  กิโลกรัม  โดยใช้หุงให้นักเรียน  รับประทานประมาณ  15 -  20  กิโลกรัม  ต่อวัน
                           -    โรงเรียนได้ให้บริการแก่ชุมชน ในการแปรรูปข้าวเปลือก จำนวน  1,617 กิโลกรัม
                       -    ผลิตผลที่ได้จากการสีข้าว ได้แก่ รำ  และปลายข้าว  และแกลบสามารถจำหน่ายเป็นรายได้ของโครงการ      และมีโครงการที่จะนำไปใช้ในการขยายกิจกรรมอื่น เพื่อส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนและ สนับสนุนโครงการอาหารกลางวันต่อไป

                          -   ใช้เป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ของนักเรียน ในกระบวนการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร  และการบริหารจัดกา

 

 

 

 

 

 

 

ผลที่เกิดขึ้นจากการบริหารโรงเรียนแบบพึ่งตนเอง

ผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
1. นักเรียนได้รับความรู้จากการศึกษาแนวทางการดำเนินงานตามโครงการโดยได้ปฏิบัติกิจกรรมต่างๆโดยตรง
2. นักเรียนได้เรียนรู้และฝึกประสบการณ์การทำงานร่วมกัน ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ความรับผิดชอบ ความสามัคคี ความมีน้ำใจ รักการทำงาน
3.นักเรียนเกิดความรักและความภาคภูมิใจในสถาบันการศึกษา เห็นความสำคัญของอาชีพสุจริต
4. นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันถูกหลักโภชนาการครบทุกคน มีสุขภาพกายและจิตที่ดีลดปัญหาการขาดเรียน
5. นักเรียนมีรายได้ระหว่างเรียนโดยการทำกิจกรรมปลูกพืชผักสวนครัวและนำมาจำหน่ายให้สหกรณ์โรงเรียนเพื่อจำหน่ายต่อให้โครงการอาหารกลางวัน
 6.นักเรียนเกิดความรักในท้องถิ่น เห็นความสำคัญภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีงาม
              ผลที่เกิดกับครู
1.ครูสามารถจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสภาพความต้องการของท้องถิ่นโดยใช้แหล่งเรียนรู้ในโรงเรียนถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ และทักษะให้แก่นักเรียน
2.ครูสามารถใช้กิจกรรมต่างๆในการเชื่อมโยง บูรณาการความรู้ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตจริงของนักเรียนและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
 3.ครูมีขวัญและกำลังใจในการทำงาน มีความมุ่งมั่นในการพัฒนางานและการศึกษาร่วมกับชุมชน

             ผลที่เกิดกับผู้บริหารและโรงเรียน
1.  สามารถใช้รายได้จากผลิตผลของโครงการไปใช้   ในการบริหารจัดการด้านอื่นๆเพิ่มเติมจากงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจากหน่วยงานต้นสังกัด
2.  มีรายได้เป็นของโรงเรียน  โดยไม่ต้องระดมงบประมาณจากชุมชนซึ่งมีฐานะยากจน   เน้นขอความช่วยเหลือด้านแรงงานจากชุมชนในการดำเนินโครงการกิจกรรมของทางโรงเรียน
3.  ผู้ปกครอง ชุมชนมีความเชื่อมั่น ศรัทธาต่อผู้บริหารและการดำเนินงานของโรงเรียน

             ผลที่เกิดกับผู้ปกครอง/ชุมชน
1.ผู้ปกครอง ชุมชนได้เห็นแบบอย่างการดำเนินกิจกรรมเกษตรทฤษฏีใหม่การเลี้ยงโคนม เพื่อนำไปปรับใช้ในการพัฒนาอาชีพของตนเอง
2.  ผู้ปกครอง ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาทั้งร่วมคิด ร่วมทำ  ร่วมติดตามประเมินผล และร่วมยินดีกับความสำเร็จการดำเนินโครงการกิจกรรมของโรงเรียน
3.  ผู้ปกครอง ชุมชน มีความผูกพัน  และมีสัมพันธภาพที่ดีกับทางโรงเรียน   ลดช่องว่างระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
4. ลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการจัดหาอุปกรณ์การเรียน   การจัดเตรียมอาหารกลางวันให้กับกับบุตรหลาน

หลักการบริหารโรงเรียนแบบพึ่งตนเอง   เป็นการนำหลักทฤษฎีตามแนวพระราชดำริหรือโครงการเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้    ในด้านการบริหาร การศึกษาภายใต้ข้อจำกัดทางงบประมาณ โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อมภายใน   และสภาพแวดล้อมภายนอกของโรงเรียน   เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นเป้าหมายหลัก
              โครงการหรือกิจกรรมที่โรงเรียนได้ดำเนินการไปนั้นถือว่า    เป็นแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อให้โรงเรียนสามารถพึ่งตนเองได้   ตามสภาพปัญหาของโรงเรียนซึ่งมีความสอดคล้อง เชื่อมโยง ต่อเนื่อง โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งด้านงบประมาณ  บุคลากร   อาคารสถานที่และบริเวณให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพสูงสุด

             สภา
พปัญหาการดำเนินโครงการกิจกรรมในระยะแรก   ผู้ปกครอง   ชุมชน  และประชาชนทั่วไปขาดความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินโครงการกิจกรรมของโรงเรียน   ที่ใช้พื้นที่ของโรงเรียนเน้นไปทางด้านการเกษตร โรงเรียนได้พัฒนาปรับปรุงการดำเนินโครงการ   จนเป็นรูปธรรมเห็นผล   สามารถนำผลิตผลที่ได้มาใช้ในการบริหารจัดการของโรงเรียนจนเป็นที่ยอมรับของชุมชนในท้องถิ่นและชุมชนใกล้เคียง

โรงเรียนบ้านท่าตาสี www.tatasee.20m.com
ตำบลตาหลังใน อำเภอวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว 27210
นายสุรชาติ  คหินทพงษ์ ผู้อำนวยการ โทร.09-8341044

ไซท์นี้ได้รับการปรับปรุงครั้งล่าสุด08/08/50